นิ้วล็อค
นิ้วล็อค เป็นอาการที่เราได้ยินกันมาเนิ่นนานตั้งแต่เด็กๆ โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นกับบรรดาแม่บ้านทั้งหลายที่ไปจับจ่ายซื้อของในตลาด แล้วเดินกลับบ้านพร้อมกับถุงหิ้วพลาสติกที่บรรจุของหนักๆไว้เต็มอัตรา โดยใช้นิ้วมือเกี่ยวถุงเหล่านั้นไว้ พอเวลาผ่านไปไม่นานนิ้วของเธอก็เริ่มบวมเปล่งจนกลายเป็นอาการนิ้วล็อคในที่สุด อย่างไรก็ตาม คุณเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมแม่บ้านเหล่านั้นถึงเป็นนิ้วล็อคกัน
นิ้วล็อค เกิดจากอะไร
ส่วนใหญ่มักจะเป็นนิ้วล็อคกันที่นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง สาเหตุมาจากพังผืดยึดหุ้มบริเวณข้อนิ้ว เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการปวดมาก นิ้วหัวแม่มืองอไม่ได้ ทำให้จับปากกาเขียนหนังสือหรือทำอะไรไม่ถนัด ที่สำคัญคือจะมีอาการปวดตลอดเวลา บางคนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คิดว่าเส้นยึดธรรมดาเลยเอาน้ำมันทาถูนวด จึงทำให้มีอาการปวดมากขึ้นและไม่หาย สุดท้ายต้องไปพบแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาล
การชอบเราหิ้วของหนักๆด้วยนิ้วแล้วต่อมาเป็นนิ้วล็อก ก็เพราะว่าโรคนี้เกิดจากการเสียดสีและถูไถของเอ็นในช่องเอ็นทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่ปลอกหุ้มเอ็นบริเวณข้อโคนนิ้ว ปลอกหุ้มเอ็นมักหนาขึ้น และรัดเอ็นจนทำให้เอ็นบวมและคลำเป็นปมขึ้นมา ผู้ที่มีการใช้นิ้วมากๆ หรือใช้นิ้วมือในการเกี่ยวยกของหนักบ่อยๆ จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้นั่นเอง ซึ่งอาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
1.ระยะแรก มีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด
2.ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้
3.ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง
4.ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก
![](http://www.beauty24store.com/uploaded/misc/images/trigger-finger.jpg)
นิ้วล็อค รักษาอย่างไร
การรักษาโรคนิ้วล็อคมีด้วยกันหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ใช้มือให้น้อยลง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือเสียใหม่ หลีกเลี่ยงการนวดหรือดัดนิ้วแรงๆ และอาจมีการรับประทานยาแก้อักเสบร่วมด้วย ไปจนถึงการรักษาด้วยการใช้ยาจำพวกสเตียรอยด์ฉีดเข้าตรงเอ็นบริเวณนั้น
ทั้งนี้ หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะพิจารณารักษาด้วยวิธีการผ่าตัดนิ้วล็อค โดยกรีดโพรงเอ็นที่หุ้มอยู่ให้เปิดออก ใช้เวลาไม่นาน ไม่กี่วันอาการนิ้วล็อกจะหายเป็นปกติ กระนั้นก็ดี การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจก่อให้เกิดพังผืดขึ้นในภายหลังและมีโอกาสกลับมาเป็นโรคนิ้วล็อคได้อีกครั้ง นอกจากวิธีดังกล่าวแล้ว ยังสามารถรักษาโดยแพทย์ทางเลือกด้วย อย่างเช่น วิธีการฝังเข็ม เป็นต้น
การรักษาโรคนิ้วล็อคมีด้วยกันหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ใช้มือให้น้อยลง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือเสียใหม่ หลีกเลี่ยงการนวดหรือดัดนิ้วแรงๆ และอาจมีการรับประทานยาแก้อักเสบร่วมด้วย ไปจนถึงการรักษาด้วยการใช้ยาจำพวกสเตียรอยด์ฉีดเข้าตรงเอ็นบริเวณนั้น
ทั้งนี้ หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะพิจารณารักษาด้วยวิธีการผ่าตัดนิ้วล็อค โดยกรีดโพรงเอ็นที่หุ้มอยู่ให้เปิดออก ใช้เวลาไม่นาน ไม่กี่วันอาการนิ้วล็อกจะหายเป็นปกติ กระนั้นก็ดี การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจก่อให้เกิดพังผืดขึ้นในภายหลังและมีโอกาสกลับมาเป็นโรคนิ้วล็อคได้อีกครั้ง นอกจากวิธีดังกล่าวแล้ว ยังสามารถรักษาโดยแพทย์ทางเลือกด้วย อย่างเช่น วิธีการฝังเข็ม เป็นต้น
![](http://www.beauty24store.com/uploaded/misc/images/Oval-8%20Trigger%20Finger1.jpg)